28 กรกฎาคม 2551

พัสดุและวัสดุ

พัสดุคือะไร

ตามระเบียบพัสดุสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ความหมายของคำว่า "พัสดุ" ไว้ดังนี้
"พัสดุ" หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินสิ่งก่อสร้าง ที่กำหนดไว้ในหนังสือการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณของสำนักงบประมาณ หรือการจำแนกประเภทรายจ่ายตามสัญญาเงินกู้จากต่างประเทศ
เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้นอาจสรุปได้ว่าพัสดุก็คือสิ่งที่เรียกว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างรวมถึงการปรับปรุงสิ่งก่อสร้างด้วย กล่าวได้โดยรวมพัสดุก็คือสิ่งต่างๆ ที่ใช้หรือสนับสนุนการทำงานส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในรูปของวัตถุที่จับต้องได้


วัสดุคืออะไร
คำว่า “วัสดุ” เป็นคำที่เราได้ยินและใช้กันอย่างติดปากกันอยู่ทุกคน แต่เราทราบกันจริง ๆ มั้ยว่า วัสดุคืออะไร? เชื่อว่าทุกคนบอกได้ว่าวัสดุมีอะไรบ้าง แต่อาจจะไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่ามันคืออะไร บางท่านอาจจะคิดว่าวัสดุคือของแข็งที่สามารถจับต้องได้ บางท่านอาจจะคิดว่ามันคือสสารชนิดหนึ่ง บางท่านอาจจะบอกว่าวัสดุก็คือ โลหะ พลาสติก เซรามิก คอมโพสิต แก้ว ต่างคนก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป แต่โดยจริงแล้ววัสดุที่เป็นที่สนใจของนักวัสดุศาสตร์จะหมายถึง “สสารที่มีสมบัติที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางวิศวกรรมและผ่านกระบวนการผลิตเพื่อเป็นองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์หรือสิ่งของเครื่องใช้” ดังนั้นเราจึงอาจไม่เรียกทุกอย่างในโลกนี้ว่าวัสดุ ตัวอย่างเช่น เราไม่เรียกต้นมะพร้าวว่าวัสดุ แต่ถ้าเรานำเส้นใยที่ได้จากมะพร้าวมาปั่นเป็นเส้นใยแล้วปั่นเป็นเส้นเชือกแล้ว นั่นคือวัสดุ

02 กรกฎาคม 2551

การบ้านครั้งที่1

1.คลังสินค้าหมายถึงอะไร
ตอบ ความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง สถานที่เก็บสินค้า , คลังสินค้า , โกดังสินค้า , โรงพัสดุ คลังสินค้า ยังรวมถึงสถานที่เก็บสินค้าประเภทต่างๆ เช่น คลังพัสดุ (Depot) , คลังพลาธิการ , คลังยุทธปัจจัย , แท็งค์เก็บสินค้าของเหลว (Liquid Tank) , ฉางเก็บสินค้า (Silo) , คลังสินค้าท่าเรือ (Wharf) , คลังสินค้าประเภท ICD ฯลฯ นอกจากนี้ Warehouse ตามความหมายของโลจิสติกส์ หมายถึง สถานที่ใช้ในการเก็บรักษาสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดี และคุณสมบัติที่พร้อมจะส่งมอบให้กับบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยบรรลุเป้าหมายแบบ Right Time , Right Quantities , Right Place โดยภาระกิจที่สำคัญคลังสินค้าจึงทำหน้าที่เป็นที่พักและเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบหรือวัสดุสิ่งของต่างๆ โดยเป็นสถานที่ซึ่งใช้ในการพักสินค้าชั่วคราวจนกว่าจะมีการเคลื่อนย้ายไปสู่ผู้ที่มีความต้องการไม่ว่าจะเพื่อการผลิตหรือเพื่อจำหน่าย จ่ายแจก หรือขาย หรือส่งมอบ

2.การจัดการคลังสินค้ามีการจัดการกับกิจกรรมใดบ้าง
ตอบ การจัดการคลังสินค้ามีการจัดการกับกิจกรรมดังนี้
1. งานรับสินค้า (Goods Receipt)การรับสินค้าเป็นการนำสินค้าเข้า เพื่อที่จะทำการจัดเก็บ โดยระบบของการรับสินค้าจะมีการตรวจสอบสินค้าได้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็น จำนวน ขนาด น้ำหนัก ราคา ตลอดจนไปถึงช่วยคำนวณ ยอดสินค้าที่ยังคงค้างอยู่ใน สต๊อกเพื่อที่จะสามารถจัดสรร พื้นที่ที่จะนำสินค้าในล็อตใหม่ เข้าไปเก็บ ระบบยังสามารถบอก รายละเอียดในการเรียง จัดเก็บ สินค้าแต่ละชนิด เพื่อเป็นการใช้พื้นที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในอุตสาหกรรมการผลิต

2. การตรวจพิสูจน์ทราบ(identtify Goods) เพื่อรองรับความถูกต้องในเรื่องของ ชื่อ หมายเลข หรือข้อมูลอื่นๆ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสินค้ารายการนั้น

3. การตรวจแยกประเภท (Sorting Goods) ในสินค้าหรือวัสดุบางอย่างอาจมีความจำเป็นต้องแยกประเภทเพื่อความสะดวกในการเก็บรักษา เช่น ของดี ของชำรุด ของเก่า ของใหม่ ซึ้งต้องแยกออกจากกันในการเก็บรักษาคลังสินค้า

4. งานจัดเก็บสินค้า(Put away)ระบบตรวจสอบขนาดของพื้นที่และชั้นเก็บของต่างๆ ว่ามีขนาดและน้ำหนักเท่าไหร่ เพียงพอต่อสินค้าที่จะนำเข้า มาเก็บหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถจำแนกประเภท ของสินค้าที่จะ นำมาเก็บ และช่วย ให้พนักงานสามารถรู้ถึงสถานที่ในการ เก็บสินค้า ได้อย่างถูกต้อง โดยไม่ต้องพึ่งกระดาษหรือความจำ และช่วยบริหาร เนื้อที่และจัดโซนที่เหมาะสม

5.งานดูแลรักษาสินค้า (Holiding Goods) งานดูแลรักษาสินค้าประกอบด้วยงานย่อยๆต่างๆเช่น

5.1 การตรวจสภาาพ ตามลักษณะเฉพาะของสินค้าแต่ละชนิดซึ่งมีการเสื่อมสภาพที่แตกต่างกัน
5.2 การถนอม สินค้าบางประเภทต้องได้รับการถนอมตามระยะเวลา
5.3 การตรวจสอบ เป็นการตรวจนับสินค้าที่เก็บรักษาเพื่อสอบยอดกับบัชชีคลุมในคลังสอนค้าไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง

6.งานจัดส่งสินค้า (Dispatch goods)

7. การนำออกจากที่เก็บ (Picking)

8. การจัดส่ง (Shipping)

9.การส่งสินค้าผ่านคลัง (Cross docking)


3.วัตถุประสงค์ของการจัดการสินค้าเพื่ออะไร
ตอบ วัตถุประสงค์ของการจัดการสินค้าเพื่อ
1 )ลดระยะทางในการปฏิบัติการในการเคลื่อนย้ายให้มากที่สุด
2 )การใช้พื้นที่และปริมาตรในการจัดเก็บให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3 )สร้างความมั่นใจว่าแรงงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ สาธารณูปโภคต่างๆ มีเพียงพอและสอดคล้อง กับระดับของธุรกิจที่ได้วางแผนไว้
4 )สร้างความพึงพอใจในการทำงานในแต่ละวันแก่ผู้เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายสินค้า ทั้งการรับเข้าและการจ่ายออก โดยใช้ปริมาณจากการจัดซื้อ และความต้องการในการ จัดส่งให้แก่ลูกค้าเป็นเกณฑ์
5 )สามารถวางแผนได้อย่างต่อเนื่อง ควบคุม และรักษาระดับการใช้ทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้เกิดการบริการภายใต้ต้นทุนที่เกิดประสิทธิภาพคุ้มค่าในการลงทุนตามขนาดธุรกิจที่กำหนด


4.กิจกรรมหลักของคลังสินค้าและความสัมพันธ์กับกิจอื่นในการจัดการคลังสินค้ามีอะไรบ้าง
ตอบ กิจกรรมหลักของคลังสินค้าและความสัมพันธ์กับกิจอื่นในการจัดการคลังสินค้ามีดังนี้
1 )การคลังสินค้าและการผลิต การผลิตสินค้าจำนวนน้อยทำให้เกิดสินค้าคงคลังจำนวนน้อยลง ซึ่งทำให้ต้องการพื้นที่เก็บสินค้าจำนวนน้อย ทำให้ต้องมีการผลิตบ่อยครั้งซึ่งทำให้ต้นทุนการตั้งเครื่องจักร และต้นทุนการเปลี่ยนสายการผลิตสูง ในทางตรงกันข้ามถ้าผลิตสินค้าจำนวนมากทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำ แต่ทำให้เกิดสินค้าคงคลังจำนวนมากและต้องการพื้นที่ในการเก็บสินค้าจำนวนมาก ดังนั้นผู้บริหารจึงควรเปรียบเทียบระหว่างตันทุนการผลิตที่สามารถประหยัดได้ และต้นทุนสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นเพื่อทำให้ได้ต้นทุนรวมต่ำที่สุด

2 )การคลังสินค้าและการขนส่ง คลังสินค้าจะรับวัตถุดิบจากผู้ขายปัจจัยการผลิตหลายรายการเพื่อรวบรวมเป็นขนาดการขนส่งใหญ่ขึ้นและส่งป้อนโรงงานการผลิตต่อไป ซึ่งทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาดการขนส่ง

3 )การคลังสินค้าและการให้บริการลูกค้า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางการตลาดอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบถึงการเก็บสินค้าในคลังสินค้าได้ ดังนั้นคลังสินค้าจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเก็บสินค้าส่วนเกินกว่าความต้องการลูกค้าไว้จำนวนหนึ่งสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้ในกรณีที่การผลิตมีปัญหาหรือการส่งมอบจากโรงงานล่าช้ากว่าผิดปกติ

5.Swot Analysis คืออะไรจงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างงานที่เกี่ยวกับระบบงานคลังสินค้า
ตอบ SWOT Analysis เป็นกาารจัดทำแผนกลยุทธ์วิธีหนึ่งซึ่งจะช่วยให้องค์กรทราบถึงสถานภาพขององค์กร อันจะทำให้สามารถกำหนดเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและประสบความสำเร็จ โดยวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก 4 ประเด็น คือ ปัจจัยภายในองค์กร
S – Strength หมายถึง จุดแข็ง องค์กรจะต้องมีการประเมินจุดแข็งของตนเอง เพื่อพิจารณาเงื่อนไขแห่งความสำเร็จขององค์กรตนในมิติต่างๆ เช่น สถานภาพทางการเงิน บุคลากร ผลผลิต โดยประเมินค่าเป็นระดับจากสูงสุดไปหาต่ำสุด อย่างไรก็ตาม จุดแข็งในบางมิติอาจไม่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรก็ได้

W – Weakness หมายถึง จุดอ่อน องค์กรจะต้องมีการประเมินจุดอ่อนของตน เพื่อพิจารณาเงื่อนไขแห่งความล้มเหลวขององค์กรในมิติต่างๆ เช่นเดียวกับการประเมินจุดแข็ง โดยมีการประเมินค่าจากสูงสุดไปหาต่ำสุด อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนในบางมิติอาจไม่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร ปัจจัยภายนอกองค์กร

O – Opportunity หมายถึง โอกาสหรือสิ่งที่องค์กรได้เปรียบคู่แข่ง ทั้งนี้องค์กรควรพิจารณาโอกาสในนมิติของความดึงดูดใจและความน่าประสบความสำเร็จขององค์กร

T – Threat หมายถึง อุปสรรคที่ขัดขวางการพัฒนาขององค์กร ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อเป้าประสงค์ขององค์กร ทั้งนี้ควรพิจารณาอุปสรรคในมิติของความรุนแรงและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น

กฏหมายเกี่ยวกับคลังสินค้า


พระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง องค์การคลังสินค้า พ.ศ.2498


ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2498เป็นปีที่ 10 ในรัชกาลปัจจุบัน


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งองค์การคลังสินค้าอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 95 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า พ.ศ.2498"
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ในพระราชกฤษฎีกานี้
"องค์การฯ" หมายความว่า องค์การคลังสินค้า
"พนักงาน" หมายความว่า ผู้ที่ทำงานสังกัดอยู่ในองค์การทุกตำแหน่งที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้อำนวยการ
"ผู้อำนวยการ""คณะกรรมการ" "รัฐมนตรี"
หมายความว่า ผู้อำนวยการขององค์การหมายความว่า คณะกรรมการขององค์การหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา 4 ให้จัดตั้งองค์การขึ้นองค์การหนึ่ง เรียกว่า "องค์การคลังสินค้า"
มาตรา 5 องค์การมีสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในจังหวัดพระนคร และจะตั้งสำนักงานสาขา หรือตัวแทนขึ้น ณ ที่ใดภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรก็ได้
มาตรา 6 องค์การมีวัตถุประสงค์ทำกิจการทั้งปวงเกี่ยวกับสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้งธุรกิจ บริการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค

(มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2540 ใช้ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2540)
มาตรา 7 เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวในมาตรา 6 ให้องค์การมีอำนาจรวมถึง

(1) ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครองที่ดินและทรัพย์สินอื่น ๆ มีทรัพย์สิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ ขาย เช่า ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม จำนำ รับจำนำ จำนอง รับจำนอง จัดหา จำหน่าย แลกเปลี่ยน โอน และรับ โอนด้วยประการใด ๆ ซึ่งที่ดินทรัพย์สิน อื่น ๆ หรือสิทธิทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร รับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ และดำเนินการเกี่ยวกับ เครื่องใช้ บริการ หรือ ทรัพย์สินใด ๆ

(2) ทำการผลิต การค้า การรับฝากขาย การสะสม การรวบรวม และการขนส่งสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภค บริโภค (3) ประกอบกิจการคลังสินค้าและกิจการเกี่ยวกับสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้งธุรกิจบริการ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค

(4) ร่วมการงานหรือสมทบกับบุคคลอื่น เพื่อประโยชน์แก่กิจการขององค์การ รวมทั้งการเข้าเป็นหุ้นส่วน จำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัด หรือนิติบุคคลใด โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี

(มาตรา 7 (4) แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2518 ใช้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2518)

(5) กู้ ยืม เงิน ถ้าเป็นจำนวนเกินกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ต้องได้รับอนุญาตจากคณะรัฐมนตรีก่อน

(6) ให้กู้ ให้ยืมเงิน โดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือด้วยทรัพย์

(7) จัดตั้งฉางข้าว โรงสี คลังสินค้า และร้านค้า

(8) กระทำการอื่นใดเพื่อส่งเสริมการผลิตตลอดจนกิจการค้าสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภคของคนไทย ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร

(มาตรา 7 (2) (3) (5) (8) แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2540 ใช้ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2540)
มาตรา 8 ให้กระทรวงเศรษฐการโอนบรรดาทรัพย์สิน สินทรัพย์ สิทธิ ความรับผิดและธุรกิจของกองคลังสินค้า กรมการค้าภายใน ซึ่งสังกัดอยู่ในกระทรวงเศรษฐการ ตลอดจนพนักงานของกองคลังสินค้า ก่อนวันใช้พระราชกฤษฎีกานี้บังคับให้แก่องค์การ ซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ดำเนินการต่อไป
มาตรา 9 ให้กำหนดทุนขององค์การเป็นจำนวนเงินหนึ่งร้อยยี่สิบห้าล้านบาท โดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาท และจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆ ตามจำนวนที่รัฐบาลพิจารณาเห็นสมควร
มาตรา 10 เงินสำรองขององค์การให้ประกอบด้วยเงินสำรองธรรมดาซึ่งตั้งไว้เผื่อขาด เงินสำรองเพื่อไถ่ถอนหนี้ และเงินสำรองอื่น ๆ เพื่อความประสงค์แต่ละอย่างโดยเฉพาะตามแต่คณะกรรมการจะเห็นสมควร
มาตรา 11 รายได้ที่องค์การได้รับจากการดำเนินกิจการในระหว่างปีให้นำไปใช้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อกิจการขององค์การได้
มาตรา 12 รายได้ปีหนึ่ง ๆ เมื่อได้หักราคาทุนของสินค้าที่ได้จำหน่าย หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมาตรา 11 และหักค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสมออกแล้ว เหลือเป็นกำไรสุทธิประจำปีเท่าใด อาจจัดสรรไว้เป็นเงินสำรองตามมาตรา 10 เงินต่าง ๆ ตามมาตรา 20 เงินสมทบกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้อำนวยการและพนักงานตามมาตรา 27 และเงินลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เหลือเท่าใดให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ

ถ้ารายได้มีจำนวนไม่พอสำหรับกรณีดังกล่าว นอกจากเงินสำรองที่ระบุไว้ในมาตรา 10 และองค์การไม่สามารถหาเงินจากทางอื่นไดั รัฐบาลพึงพิจารณาจ่ายเงินให้แก่องค์การเท่าจำนวนที่จำเป็น
มาตรา 13 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการขององค์การและเพื่อการนี้รัฐมนตรี มีอำนาจเรียกประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการ ตัวแทนขององค์การ หรือบุคคลใด ๆ ในองค์การมาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น หรือให้ทำรายงานยื่นก็ได้

(มาตรา 13 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2535 ใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2535)
มาตรา 14 เรื่องที่ต้องเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีตามความในพระราชกฤษฎีกานี้ ให้คณะกรรมการนำเสนอรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรี

(มาตรา 14 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2518 ใช้ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2518)
มาตรา 15 ให้มีคณะกรรมการองค์การคลังสินค้าคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการ รองประธาน กรรมการผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงละหนึ่งคนเป็นกรรมการและกรรมการอื่นซึ่งมิใช่ผู้แทนของส่วนราชการอีกไม่เกินห้าคน และผู้อำนวยการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง

ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการอื่น

ให้ผู้อำนวยการเป็นเลขานุการคณะกรรมการ

(มาตรา 15 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2535 ใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2535)
มาตรา 16 ผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้เป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ คือ

(1) มีส่วนได้เสียในสัญญากับองค์การหรือในกิจการที่จะกระทำให้แก่องค์การ ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม เว้นแต่จะเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดที่กระทำการอันมีส่วนได้เสีย เช่นว่านั้น

(2) เป็นพนักงาน

(3) เป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

(4) เป็นข้าราชการการเมืองหรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง

(5) ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมือง

(มาตรา 16 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535 ใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2535)

(มาตรา 16 (5) แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2540 ใช้ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2540)
มาตรา 17 ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการขององค์การ และให้มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย คือ

(1) ดำเนินกิจการตามความในมาตรา 6 และมาตรา 7

(2) วางข้อบังคับต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารงาน (3) วางข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน การเลื่อนขั้นเงินเดือน การตัดเงินเดือน การลดขั้นเงินเดือนและระเบียบวินัยของพนักงาน ตลอดจนกำหนดอัตราตำแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้างและเงินอื่น ๆ ของพนักงาน

(4) กำหนดอัตราดอกเบี้ย ค่าภาระ ค่าบริการ และค่าดำเนินธุรกิจต่าง ๆ

(5) กำหนดอัตราและดอกเบี้ยเงินสะสมของผู้อำนวยการและพนักงาน และวางระเบียบการจ่ายคืนเงินสะสม

ข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานที่คณะกรรมการวางขึ้นนั้น ถ้ามีข้อจำกัดอำนาจผู้อำนวยการในการทำนิติกรรมไว้ประการใด ให้รัฐมนตรีประกาศข้อบังคับที่มีข้อความเช่นว่านั้นในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 18 ให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่ง คราวละสามปี แต่อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

ในกรณีที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้น ในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้ว

เมื่อครบกำหนดตามวาระตามวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ให้ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการอื่นซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไป จนกว่าคณะกรรมการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่

(มาตรา 18 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535 ใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2535)
มาตรา 19 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 18 ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(1) ตาย (2) ลาออก (3) คณะรัฐมนตรีให้ออก (4) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 (มาตรา 19 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535 ใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2535)
มาตรา 20 ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดเงินผลประโยชน์ตอบแทนของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการ และพนักงานอาจได้รับเงินบำเหน็จ เงินรางวัล ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 21 ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ผู้อำนวยการได้รับเงินเดือนตามที่คณะกรรมการกำหนด

(มาตรา 21 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535 ใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2535)
มาตรา 22 ผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับองค์การ หรือในกิจการที่จะกระทำให้แก่องค์การ ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม เว้นแต่จะเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด ที่กระทำ การอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้น ต้องห้ามมิให้เป็นผู้อำนวยการ
มาตรา 23 ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการขององค์การให้เป็นไปตามนโยบายและ ข้อบังคับที่คณะกรรมการได้วางไว้ และมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง

ผู้อำนวยการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการจัดการและดำเนินกิจการขององค์การ
มาตรา 24 ผู้อำนวยการมีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ

(1) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อนขั้นเงินเดือน ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ตลอดจนลงโทษทางวินัยแก่พนักงาน ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการได้วางไว้ แต่ถ้าพนักงานเช่นว่านั้นเป็นพนักงานชั้นรองผู้อำนวยการ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญหรือหัวหน้าฝ่ายต่าง ๆ ที่ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน

(2) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจการขององค์การโดยไม่แย้งหรือขัดต่อนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการได้วางไว้
มาตรา 25 เมื่อผู้อำนวยการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ถ้ามีรองผู้อำนวยการ ให้รองผู้อำนวยการ เป็นผู้รักษาการแทน ถ้าไม่มีรองผู้อำนวยการ ให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งรองผู้อำนวยการ ถ้ามิได้แต่งตั้ง หรือไม่อาจแต่งตั้งได้ให้ คณะกรรมการแต่งตั้งผู้รักษาการแทน

ให้ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการ มีอำนาจและหน้าที่อย่างเดียวกับผู้อำนวยการ เว้นแต่อำนาจและหน้าที่ของผู้อำนวยการในฐานะกรรมการขององค์การ และต้องปฏิบัติกิจการให้อยู่ภายในแผนงานที่ผู้อำนวยการกำหนดไว้
มาตรา 26 ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้อำนวยการเป็นตัวแทนขององค์การและเพื่อการนี้ ผู้อำนวยการอาจมอบให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติกิจการบางอย่างแทนในเมื่อคณะกรรมการกำหนดไว้ในข้อบังคับว่าให้ปฏิบัติแทน กันได้นั้นก็ได้ ในกรณีที่มีข้อบังคับซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 17 วรรคท้าย กำหนดไว้ว่า นิติกรรมใด ผู้อำนวยการจะทำได้ก็แต่โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการก่อน นิติกรรมนั้น ผู้อำนวยการ ทำขึ้นโดยมิได้รับความเห็นชอบดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันองค์การ เว้นแต่คณะกรรมการจะได้ให้สัตยาบัน
มาตรา 27 ให้องค์การจัดให้มีกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้อำนวยการ และพนักงานในกรณีพ้นจากตำแหน่ง ประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย หรือกรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์

การจัดให้ได้มาซึ่งกองทุนดังกล่าวในวรรคก่อน การกำหนดประเภทของผู้ที่พึงได้รับการสงเคราะห์จากกองทุน และหลักเกณฑ์การสงเคราะห์ ตลอดจนการจัดการเกี่ยวกับกองทุน ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการได้วางไว้

ข้อบังคับดังกล่าวในวรรคก่อน ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ใช้บังคับได้
มาตรา 28 ให้องค์การเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย ระเบียบของคณะกรรมการซึ่งได้รับความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา 29 ให้องค์การวางและถือไว้ซึ่งระบบการบัญชีอันถูกต้อง แยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ มีการสอบบัญชีภายในเป็นประจำ และมีสมุดบัญชีลงรายการ (1) การรับและจ่ายเงิน (2) สินทรัพย์และหนี้สิน ซึ่งแสดงการงานที่เป็นอยู่ตามจริงและตามที่ควร ตามประเภทงานพร้อมด้วยข้อความ อันเป็นเหตุที่มาของรายการนั้น ๆ
มาตรา 30 ทุกปีให้สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบและตรวจบัญชีและการเงินขององค์การ
มาตรา 31 ผู้สอบและตรวจบัญชีมีอำนาจสอบและตรวจสรรพสมุด บัญชี และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ขององค์การ และเพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการ และบุคคลใด ๆ ในองค์การได้
มาตรา 32 ผู้สอบและตรวจบัญชีต้องทำรายงานว่าด้วยข้อความ คำชี้แจง อันควรแก่การสอบ และตรวจบัญชีที่ได้รับตลอดจนความสมบูรณ์ของสมุด บัญชีที่องค์การรักษาอยู่ และต้องแถลงด้วยว่า

(1) งบดุลและบัญชีซึ่งสอบและตรวจนั้นถูกต้องตรงกับสมุด บัญชี เพียงไร หรือไม่

(2) งบดุลและบัญชีซึ่งสอบและตรวจนั้นแสดงการงานขององค์การที่เป็นอยู่ตามจริงและตามที่ควร ตามข้อความ คำชี้แจงและความรู้เห็นของผู้สอบและตรวจบัญชี เพียงไรหรือไม่
มาตรา 33 ผู้สอบและตรวจบัญชี ต้องทำรายงานผลของการสอบและตรวจบัญชีเสนอคณะรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับจากวันสิ้นปีบัญชีขององค์การ
มาตรา 34 ให้ผู้อำนวยการจัดทำรายงานประจำปีของปีที่สิ้นไปนั้นเสนอคณะกรรมการ แสดงงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรและขาดทุน ซึ่งผู้สอบและตรวจบัญชีรับรองว่าถูกต้องแล้วภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน นับจากวันสิ้นปีบัญชีขององค์การ
มาตรา 35 ให้คณะกรรมการทำรายงานปีละครั้งเสนอรัฐมนตรี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานในปีที่ล่วงแล้วขององค์การพร้อมด้วยคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการ
มาตรา 36 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้



(มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2540 ใช้ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2540)
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการจอมพล ป.พิบูลสงครามนายกรัฐมนตรี



ที่มา: http://cms.sme.go.th/cms/c/journal_articles/view_article_content?article_id=VC07-07-06-C08&article_version=1.0

01 กรกฎาคม 2551

ทุกอย่างมีทางแก้เสมอ

เชื่อหรือเปล่าว่า ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้เสมอ .......
ลองเล่นกันดูค่ะ น่าจะมีประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อยนะคะ
ปัญหาที่คุณกำลังจะเจอต่อไปนี้ ให้หาทางแก้ที่ง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ตอนท้ายสุดจะมีคำเฉลยให้ และมีการจัดระดับไอคิวให้เสร็จ (ถ้าคุณเชื่อนะ)
ปัญหาทั้ง 10 ข้อนี้ มีทางแก้ทั้งนั้น คุณอาจหาวิธีต่างๆนานา มาแก้
แต่คำเฉลยมีเพียงวิธีที่สั้นที่สุดเท่านั้นเอาล่ะ..พร้อมละนะคำถาม


1. คุณขับรถสิบล้อมาจะขับลอดใต้สะพานลอย
ปรากฎว่าหลังคารถของคุณสูงกว่าบั้นท้ายสะพานลอยราวนิ้วเศษๆ จะทำไงดี


2. คุณเพิ่งซื้อเป๊ปซี่ลิตรมาขวดนึงคุณเปิดรินดื่มไปแก้วนึงแล้วเพิ่งนึกได้ว่าถ้าทิ้งไว้สองสามวันเป๊ปซี่ในขวดก็คงหายซ่า จะทำไงดี


3. คุณลืมทิ้งเเฮมเบอร์เกอร์ครึ่งก้อนไว้ในรถยนต์ พอกลับมาเห็นมดเต็มรถเลย คุณจะทำไงดี


4. คุณไปเที่ยวภูกระดึง เหนื่อยมาทั้งวัน กลับมาที่กระท่อมกำลังจะหลับสบายๆ หลังคาดันรั่ว น้ำฝนหยดแหมะๆ ลงบนกลางเตียงที่คุณนอนพอดี ทำยังไงดี


5. คุณกำลังขับรถไปเที่ยวน้ำมันใกล้จะหมดแล้ว โชคดีที่เอาน้ำมันสำรองมาด้วย แต่ดันลืมเอาที่เปิดกรวยมาด้วย ที่เอามาด้วยก็มีแต่เหล็กงัดยาง ,ยางอาไหล่, กระดาษกับขวดเหล้าเปล่า ทำไงดีจึงจะไปต่อได้


6. สมมุติว่าคุณเป็นพนักงานดับเพลิง แล้ววันหนึ่งขับรถไปกินข้าวเย็น ล็อครถไว้เสร็จ พอกลับมาปรากฏว่ารูกุญแจมีน้ำเเข็งอุดรูอยู่ อีกด้านนึงของเมืองกำลังเกิดไฟไหม้ จะต้องรีบไปดับไฟ จะทำยังไง จะจุดไม้ขีดไฟเพื่อละลายน้ำแข็งก็ไม่ได้เพราะลมพัดแรงจัด


7. คุณไปตกปลา เท้าข้างนึงตกไปในหล่มโคลน จึงถอดรองเท้าออกมาล้าง สายน้ำในลำธารเชี่ยวกรากจนพัดเอารองเท้าจมหายไป คุณจะหารองเท้าให้เจอได้อย่างไร


8. สมมุติว่าคุณเป็นนักกอล์ฟ เผอิญตอนที่ตีลูกขึ้นกรีน ลูกกอล์ฟดันวิ่งเข้าไปในถุงกระดาษที่วางทิ้งไว้แถวนั้นพอดี คุณจะพัดลูกให้ลงหลุมได้อย่างไร เพราะมีกฏว่าถ้าย้ายถุงกระดาษหรือเอามือล้วงลูกกอล์ฟออกมาต้องเสียไปสองสโตร๊คฟรีๆ


9. มีเค้กอยู่ก้อนนึง นิด กับ หน่อย ทะเลาะกันเพราะแต่ละคนก็ต้องการขนมชิ้นที่ใหญ่ที่สุด หากคุณเป็นคุณ แม่จะแบ่งครึ่งขนมเค้กก้อนนี้ได้ยังไง


10. คุณไปซื้อเบ็ดตกปลา ขนาดยาว 5 ฟุต พอจะถือขึ้นรถเมล์ปรากฏว่า รถเมล์ดันมีกฏว่าห้ามนำ สิ่งของ หรือห่อของที่ยาวเกิน 4 ฟุตขึ้นรถ คุณจะนำเบ็ดตกปลาขึ้นรถเมล์ โดยไม่หักหรืองอคันเบ็ดอย่างไร











เฉลย

1. ปล่อยลมออกจากยาง

2. พอรินเสร็จก็บีบขวดจนน้ำเป๊ปซี่เอ่อขึ้นมาจนเกือบถึงปากขวดแล้วก็ปิดฝา

3. หาน้ำตาลมาโปรยไว้รอบๆรถ มดก็จะลงมาจากรถกันหมด

4. เอาเข็มร้อยด้ายยาวๆ ปักเข็มเข้าที่รูรั่ว ส่วนด้ายก็โยงมามัดที่ก๊อกน้ำ ลูบให้ด้ายเปียกน้ำ สายน้ำก็จะหยดลงมาตามด้าย ลงอ่างน้ำ

5. เอากรวดเม็ดเล็กๆที่อยู่ข้างทางกรอกเข้าไปในขวดเขย่าเเรงๆ จนก้นขวดทะลุ คุณก็จะได้กรวยเต็มน้ำมัน

6. ฉี่ใส่รูกุญแจ

7. เอาเบ็ดเกี่ยวกับรองเท้าอีกข้าง ทิ้งตรงจุดที่รองเท้าตกน้ำ น้ำจะพัดให้รองเท้าทั้งสองข้างไปอยู่ใกล้ๆกัน

8. เอาไฟจุดเผาถุงกระดาษ

9. ให้นิดเป็นคนแบ่ง ไห้หน่อยเป็นคนเลือก

10. ทำกล่องขนาด 3 คูณ 4 ฟุต แล้วนำคันเบ็ดใส่ทะเเยงจะพอดี




ตามกฏพิทากอรัสคุณตอบถูกกี่ข้อหากแต่ละข้อ มีคะแนน 1 คะแนน คุณอยากรู้ระดับไอคิวของคุณไหม ?

0 คะแนน ...คุณ เป็นคนฉลาดคนนึง เพราะอย่างน้อยสุดคุณก็ใฝ่ใจหาความรู้ หาสิ่งท้าทาย คุณมีคนที่รักคุณมากที่สุด...ทุกครั้งที่คุณเห็นกระจก


1 คะแนน ..คุณเป็นคนปกติ เดินดินกินข้าวแกง เหมือนชาวบ้านชาวเมือง


2-4 คะแนน ...คุณอาจเป็นตัวแทนประเทศไทย ขึ้นไปกับยานดิสคัฟเวอรี่เที่ยวหน้า


5-7 คะแนน...หน้าฝนปีนี้ น้ำอาจท่วมบ้านคุณอีกครั้ง แต่คุณอาจประดิษฐ์เครื่องปั่นไฟพลังน้ำมาใช้


8 คะแนน ...ถ้าคุณมีเพื่อนที่ได้คะแนนมากขนาดนี้ ..อย่าไปคบ